เมนู

อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงกล่าว ถ้อยคำแก่งแย่ง เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้
ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง และไม่พึงกล่าวถ้อยคำ
แก่งแย่ง.

[771] ภิกษุพึงเว้นจากความพูดเท็จ เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำ
ความโอ้อวด อนึ่ง ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่น ด้วยความเป็น
อยู่ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร.


ว่าด้วยมุสาวาทมีด้วยอาการ 3 อย่าง ฯลฯ


[772] คำว่า พึงเว้นจากความพูดเท็จ ความว่า มุสาวาทเรียกว่า
ความพูดเท็จ บุคคลบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภาก็ดี อยู่ในที่ประชุมชน
ก็ดี ฯลฯ เป็นผู้กล่าวคำเท็จทั้งที่รู้สึกตัว เพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย
บ้าง นี้เรียกว่าความพูดเท็จ.
อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ 3 อย่าง คือในเบื้องต้น
บุคคลนั้นก็มีความรู้ว่า เราจักพูดเท็จ 1 เมื่อกำลังพูดอยู่ก็รู้ว่า เรากำลัง
พูดเท็จ 1 เมื่อพูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว 1 มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ
3 อย่างนี้.
อนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ 4 ด้วยอาการ 5 ด้วยอาการ 6
ด้วยอาการ 7 ด้วยอาการ 8 คือในเบื้องต้น บุคคลนั้นก็มีความรู้ว่า
เราจักพูดเท็จ 1 เมื่อกำลังพูดอยู่ก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ 1 เมื่อพูดแล้ว

ก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว 1 ปกปิดทิฏฐิ 1 ปกปิดความควร 1 ปกปิด
ความชอบใจ 1 ปกปิดสัญญา 1 ปกปิดความจริง 1 มุสาวาทย่อมมีด้วย
อาการ 8 อย่างนี้.
คำว่า พึงเว้นจากความพูดเท็จ ความว่า ภิกษุพึงเว้นจากความ
พูดเท็จ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความพูดเท็จ
เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความ
พูดเท็จ พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึง
พ้นจากความพูดเท็จ.
[773] คำว่า เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความโอ้อวด ความว่า ความ
เป็นผู้โอ้อวดเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้
อวดอ้างความโอ้อวด กิริยาที่โอ้อวด ความเป็นผู้โอ้อวด ความเป็นผู้
กระด้าง กิริยาที่กระด้าง ความเป็นผู้เห่อ กิริยาที่เห่อ ที่มีในบุคคลนั้น
ลักษณะนี้เรียกว่าความเป็นผู้โอ้อวด.
คำว่า เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความโอ้อวด ความว่า เมื่อเป็นผู้รู้สึก
ตัว ไม่พึงทำความเป็นผู้โอ้อวด ไม่พึงยังความโอ้อวดให้เกิด ไม่ให้เกิด
พร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก
สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความเป็นผู้โอ้อวด พึงเป็นผู้มีจิตปราศจาก
แดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความโอ้อวด.
[778] ศัพท์ว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วย
ความเป็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ ศัพท์ว่า

อถ นี้เป็นไปตามลำดับบท. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นอยู่อย่าง
เศร้าหมอง ย่อมดูหมิ่นภิกษุอื่นที่เป็นอยู่อย่างประณีตว่า ก็ภิกษุนี้ ทำไม่
จึงมีความเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย ย่อมได้ฉันพืชทั้งปวง คือพืชแต่ราก พืช
แต่ลำต้น พืชแต่ผล พืชแต่ยอด พืชแต่พืชเป็นที่ 5 ภิกษุนี้ข้าม (ทุกข์)
ไม่ได้แล้วเพราะความที่ตนมีความเพียร เสมอด้วยฟ้าแลบและพะเนินเหล็ก
ภิกษุนั้นย่อมดูหมิ่นภิกษุอื่นที่เป็นอยู่อย่างประณีต ด้วยความเป็นอยู่เศร้า-
หมอง ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นอยู่อย่างประณีต ย่อมดูหมิ่นภิกษุ
อื่นที่เป็นอยู่อย่างเศร้าหมองว่า ภิกษุนี้ทำไมจึงมีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย
ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้น
ย่อมดูหมิ่นภิกษุอื่นที่เป็นอยู่อย่างเศร้าหมอง ด้วยความเป็นอยู่อย่าง
ประณีต.
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ใครถาม
ปัญหาแล้ว ก็แก้ได้ เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
ปัญญา ส่วนภิกษุอื่นเหล่าอื่น ไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญา เธอก็ดูหมิ่นภิกษุ
อื่น ด้วยความถึงพร้อมด้วยปัญญานั้น.
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สำรวมแล้ว
ด้วยความสำรวมในปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติ
เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย เธอมีความดำริอย่างนี้ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ส่วนภิกษุอื่น
เหล่านี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม เธอก็ดูหมิ่นภิกษุอื่นด้วยความถึงพร้อม
ด้วยศีลนั้น.

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร คือเป็นผู้ถือ
อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสกุล
เป็นวัตร เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตาม
ลำดับตรอกเป็นวัตร เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร เป็นผู้ถือ
เนสัชชิกธุดงค์เป็นวัตร หรือเป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไร
เป็นวัตร เธอมีความดำริอย่างนี้ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร ส่วนภิกษุ
อื่นเหล่านี้ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร เธอก็ดูหมิ่นภิกษุอื่นด้วยความถึง
พร้อมด้วยวัตรนั้น.
คำว่า อนึ่ง ไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วย
ศีลและวัตร
ความว่า ไม่ควรดูหมิ่นดูแคลนผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ประณีต
ด้วยความถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยความถึงพร้อมด้วยศีล หรือด้วยความ
ถึงพร้อมด้วยวัตร คือไม่พึงให้ความถือตัวเกิดขึ้นด้วยความเป็นอยู่เป็นต้น
นั้น ไม่พึงเป็นผู้หัวดื้อ หัวแข็ง หัวสูง ด้วยความเป็นอยู่เป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง ไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ด้วยปัญญา
ด้วยศีลและวัตร เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุพึงเว้นจากความพูดเท็จ เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำ
ความโอ้อวด อนึ่ง ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็น
อยู่ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร.

[775] ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ฟังวาจามากของพวกสมณะ
หรือของพวกคนผู้มีถ้อยลำมาก ไม่พึงโต้ตอบกะคน

เหล่านั้นด้วยคำหยาบ เพราะภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำ
ผู้อื่นให้เป็นศัตรู.

[776] คำว่า ถูกประทุษร้าย ในคำว่าภิกษุถูกประทุษร้าย ได้
ฟังวาจามากของพวกสมณะ หรือของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก
ความว่า
คนอื่นประทุษร้าย ด่า เสียดสี เหยียดหยาม ติเตียน ค่อนว่าเข้าแล้ว.
คำว่า ของพวกสมณะ คือพวกชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้เข้าถึงการบวช
ยอมตัวบวช ในภายนอกแต่ศาสนานี้. คำว่า ของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก
คือพวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา
มนุษย์ ชนเหล่านั้นพึงด่า บริภาษ ติเตียน สาปแช่ง เบียดเบียน ย่ำยี
ให้ฆ่า เข้าไปฆ่าเอง ทำความเข้าไปฆ่า ด้วยวาจาเป็นอันมาก อันไม่น่า
ปรารถนารักใคร่ชอบใจ ภิกษุได้ฟัง ได้ยิน จำไว้ เข้าไปทรงจำไว้
กำหนดแล้วซึ่งวาจามาก ของชนเหล่านั้น อันไม่น่าปรารถนารักใคร่
ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ฟังวาจาของพวก
สมณะ หรือของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก.
[777] คำว่า ด้วยคำหยาบ ในคำว่า ไม่พึงโต้ตอบกะคน
เหล่านั้นด้วยคำหยาบ
ความว่า ด้วยคำหยาบคาย. คำว่า ไม่พึงโต้ตอบ
คือไม่พึงกล่าวตอบ ไม่พึงด่าตอบคนที่ด่า ไม่พึงแช่งตอบคนที่แช่ง ไม่
พึงขัดเคืองตอบคนที่ขัดเคือง ไม่พึงทำความทะเลาะ ไม่พึงทำความ
ขัดเคือง ไม่พึงทำความแก่งแย่ง ไม่พึงทำความวิวาท ไม่พึงทำความ
ทุ่มเถียง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความทะเลาะ
ความขัดเคือง ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง พึงงด เว้น
เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับความทะเลาะ ความ

ขัดเคือง ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง พึงเป็นผู้มีจิต
ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงโต้ตอบกะคนเหล่านั้น
ด้วยคำหยาบ.
[778] คำว่า ผู้สงบ ในคำว่า เพราะภิกษุผู้สงบย่อมไม่ทำผู้
อื่นให้เป็นศัตรู
ความว่า ภิกษุชื่อว่าผู้สงบ เข้าไปสงบ สงัด ดับ ระงับ
เพราะราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิ-
สังขารทั้งปวง เป็นบาปธรรมสงบ ถึงความสงบ สงัด ไหม้ ดับ หายไป
ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้สงบ. คำว่า ภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำ
ผู้อื่นให้เป็นศัตรู ความว่า ภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำผู้อื่นให้เป็นศัตรู ให้
เป็นข้าศึก ให้เป็นเวร ให้เป็นปฏิปักษ์ คือไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม
ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้สงบ ย่อม
ไม่ทำผู้อื่นให้เป็นศัตรู เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ฟังวาจามากของพวกสมณะ
หรือของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก ไม่พึงโต้ตอบกะชน
เหล่านั้นด้วยคำหยาบ เพราะภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำผู้อื่น
ให้เป็นศัตรู.

[779] ก็ภิกษุรู้ธรรมนั้นแล้วค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษา
ในกาลทุกเมื่อ ภิกษุรู้ความดับว่าเป็นความสงบแล้ว ไม่
พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม.

[780] คำว่า นั้น ในคำว่า ภิกษุรู้ธรรมนั้นแล้ว คือธรรมที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส บอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

ทำให้ตื่นประกาศแล้ว. คำว่า รู้ธรรมนั้นแล้ว ความว่า รู้ พิจารณา
เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้
จึงชื่อว่ารู้ธรรมนั้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง
ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ซึ่งธรรมอันเสมอ ธรรมอันไม่เสมอ ธรรมเป็นทาง
ธรรมไม่เป็นทาง ธรรมมีโทษ ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเลว ธรรมประณีต
ธรรมดำ ธรรมขาว ธรรมที่วิญญูชนติเตียน ธรรมที่วิญญูชนสรรเสริญ
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่ารู้ธรรมนั้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง รู้ ทราบ
พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ซึ่งความปฏิบัติชอบ
ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตาม
ประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้ทำความ
บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความหมั่นประกอบความเพียรเป็น
เครื่องตื่นอยู่ สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 นิพพาน ธรรม
เป็นข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงนิพพาน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่ารู้
ธรรมนั้นแล้ว.
[781] คำว่า ค้นคว้าอยู่ ในคำว่า ภิกษุค้นคว้าอยู่ พึงเป็น
ผู้มีติ ศึกษาในกาลทุกเมื่อ
ความว่า ค้นคว้าอยู่ คือค้นหา พิจารณา
เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็น
ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ค้นคว้าอยู่. คำว่า ในกาลทุกเมื่อ คือ
ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง

คำว่า มีสติ คือมีสติโดยเหตุ 4 อย่าง คือเมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณา
กายในกาย ก็มีสติ ฯลฯ ภิกษุนั้นเรียกว่าเป็นผู้มีสติ. คำว่า พึงศึกษา
ความว่า สิกขา 3 คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ
นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา ภิกษุนึกถึงสิกขาทั้ง 3 นี้อยู่ ก็พึงศึกษา ฯลฯ
พึงศึกษา คือพึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทาน
ประพฤติไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษา
ในกาลทุกเมื่อ.
[782] คำว่า รู้ความดับว่าเป็นความสงบแล้ว ความว่า รู้ ทราบ
พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ซึ่งความดับราคะ
โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ว่าเป็นความสงบ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ความดับว่าเป็นความสงบแล้ว.
[783] คำว่า ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม ความว่า
ในศาสนาของพระโคดม คือในพุทธศาสนา ในศาสนาของพระชินเจ้า
ในศาสนาของพระตถาคต ในศาสนาของท่านผู้เป็นเทพ ในศาสนาของ
พระอรหันต์. คำว่า ไม่พึงประมาท ความว่า พึงเป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำ
ติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ
ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ฝ่ายกุศล ความพอใจ ความพยายาม
ความอุตสาหะ ความเป็นผุ้ขยัน ความเป็นผู้มีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ
ความระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว
ความเพียรอันพึงตั้งไว้ ความตั้งใจ ความหมั่นประกอบในกุศลธรรมนั้น
ว่า เมื่อไรเราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ ฯลฯ เมื่อไรเรา
พึงยังสมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ที่ยังไม่

บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ เมื่อไรเราฟังกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้ก็ดี พึง
ละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ก็ดี พึงเจริญมรรคที่ยังไม่เจริญก็ดี พึงทำ
ให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้งแล้วก็ดี ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรม
ทั้งหลายฝ่ายกุศล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงประมาทในศาสนาของ
พระโคดม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุรู้ธรรมนั้นแล้วค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษา
ในกาลทุกเมื่อ ภิกษุรู้ความดังว่าเป็นความสงบแล้ว ไม่
พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม.

[785] ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครองงำได้เห็นแล้ว
ซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นแหละ
ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนาของพระผู้มีพระภาค
เจ้านั้น นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้.

[785] คำว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ความว่า
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ครอบงำ เพราะครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ เป็นผู้ไม่ถูกกิเลสอะไรครอบงำ อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ครอบงำ
เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันทำให้เศร้าหมอง อันให้เกิดในภพใหม่ ให้มี
ความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์อันเป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะ
ต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ.
[786] คำว่า ซึ่งสักขิธรรม ในคำว่า ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรม
โดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น
ความว่า ได้เห็น เห็นทั่ว พบเห็น แทงตลอด

แล้วซึ่งธรรมที่ประจักษ์แก่ตน อันตนรู้ยิ่งเอง มิใช่โดยต้องเชื่อต่อผู้อื่นว่า
ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยได้ฟังต่อ ๆ กันมา มิใช่โดย
ถือตามลำดับสืบ ๆ กันมา มิใช่โดยได้อ้างตำรา มิใช่โดยนึกเดาเอาเอง
มิใช่โดยคาดคะเนเอา มิใช่โดยได้ตรึกตามอาการ มิใช่โดยเห็นว่าควรแก่
ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้อง
เชื่อต่อผู้อื่น.
[787] คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้นแหละ...
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ความว่า เพราะฉะนั้น เพราะ
การณะนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น. คำว่า
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ความว่า ในศาสนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้านั้น คือในศาสนาของพระโคดม ในพุทธศาสนา ในศาสนา
ของพระชินเจ้า ในศาสนาของพระตถาคต ในศาสนาของท่านผู้เป็นเทพ
ในศาสนาของพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแหละ...
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.
[788] คำว่า พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้
ไม่ประมาท นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสดังนี้
ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ทำโดยความเคารพ ฯลฯ ไม่
ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. คำว่า ในกาลทุกเมื่อ คือในกาลทุกเมื่อ
ในกาลทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า นมัสการอยู่ ความว่า นมัสการ
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยจิต
ด้วยปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์หรือด้วยความปฏิบัติธรรม. คำว่า พึงหมั่น
ศึกษา
ความว่า สิกขา 3 คืออธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

ฯลฯ นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา. ภิกษุนึกถึงสิกขาทั้ง 3 นี้อยู่ ฯลฯ ทำให้
แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งอยู่ ก็พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี
สมาทานประพฤติ. คำว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ ฯลฯ
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาท...
นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ได้เห็นแล้ว
ซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นแหละ
ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนาของพระผู้มีพระภาค-
เจ้านั้น นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล.

จบตุวฏกสุตตนิทเทสที่ 14

อรรถกถาตุวฏกสุตตนิทเทสที่ 13


พึงทราบวินิจฉัยในตุวฏกสุตตนิทเทสที่ 14 ดังต่อไปนี้.
แม้บทว่า ปุจฺฉามิ ตํ นี้ ในมหาสมัยนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงประกาศความนั้นแก่เทวดาทั้งหลายบางพวก ผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า
การปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตเป็นอย่างไรหนอ จึงทรงให้พระพุทธนิมิต
ตรัสถามพระองค์ แล้วตรัสโดยนัยก่อนนั่นแล.
ในบทเหล่านั้น พึงทราบความคาถาที่เป็นคำถามต้นก่อน ท่าน
จำแนกคำถามด้วย อทิฏฐโชตนาปุจฉา เป็นต้น ไว้ในบทนี้ว่า ปุจฺฉามิ